อบรมความปลอดภัย ตามกฎหมายมีหลักสูตรอะไรบ้าง update 2566

by admin
อบรมความปลอดภัยตามกฎหมาย

หลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด

หลักสูตร

ชื่อกฎหมาย

รายละเอียดการอบรม

1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
อบรม จป หัวหน้างาน
อบรม จป บริหาร
– อบรม จป เทคนิค
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2549ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน และลูกจ้าง
ระดับบริหารทุกคนและสำหรับลูกจ้างที่ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
เพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย
ประจำสถานประกอบกิจการ
2. คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. 2549ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2549
สำหรับคณะกรรมการฯ ที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเลือกตั้งใหม่ โดยให้อบรมภายใน 60 วัน
หลังจากได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง
3. อันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีก่อนเข้ารับหน้าที่ สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออนพ.ศ. 2547และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในการป้องกันอันตรายจากรังสี
สำหรับลูกจ้างที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี
โดยให้อบรมก่อนเริ่มงาน
4. วิธีการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับลูกจ้าง กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 กรณีที่บริษัทฯจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
ส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน
แสงสว่าง และเสียงดังให้แก่ลูกจ้าง
5. ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง เช่น การใช้เครื่องจักรรหัสสัญญาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับลูกจ้าง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำงานก่อสร้างโดยให้
อบรมเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
6. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ควบคุมงาน กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 สำหรับผู้ควบคุมงาน ที่ควบคุมการทำงาน
ของลูกจ้างที่เข้าไปทำงานในรูเจาะ รูขุด
หลุม บ่อ คู หรือพื้นที่อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป
7. การใช้เครื่องตอกเสาเข็มและการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในการตอกเสาเข็ม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่บังคับเครื่องตอก
เสาเข็ม
8. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรและปั้นจั่นในงานก่อสร้าง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร
และปั้นจั่นในงานก่อสร้าง
9. วิธีทำงานในอุโมงค์และวิธีป้องกันอันตรายแก่ลูกจ้าง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้างก่อนเข้าทำงานในอุโมงค์
และอบรมทบทวนหรือเพิ่มเติมเป็นประจำ
ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
10. ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีเกิดภัยจากธรรมชาติ สำหรับงานก่อสร้างในน้ำ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้างที่ทำงานก่อสร้างในน้ำ
11. ขั้นตอนและวิธีการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้าง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำการรื้อถอนทำลาย
สิ่งก่อสร้าง โดยอบรมก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน
12. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับงานก่อสร้าง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างพ.ศ. 2551 สำหรับลูกจ้าง ก่อนเริ่มใช้งานอุปกรณ์ PPE
13. การทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ รถยก หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร
และเครื่องมือที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ เพื่อให้มีการชำนาญในการใช้เครื่องจักร
14. ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเป็น ผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
15. ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุหรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นและการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นพ.ศ. 2554 สำหรับลูกค้าที่อบรมเป็นผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
และทำงานมาแล้ว 2 ปี
หรือ โรงงานมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้น
หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเกี่ยวกับปั้นจั่น
ในสถานที่ทำงานหรือเมื่อมีการนำปั้นจั่น
ชนิดหรือลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน
16. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2553 สำหรับลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มี
ระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะ
เวลาการทำงาน 8 ชม. ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ
ขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถาน
ประกอบกิจการ
17. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับบริหาร

 

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างระดับบริหารของสถาน
ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ใน 14 ประเภท
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน
ในการบริหารและการจัดการ
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. 2549 กำหนด
18. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้าง ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างานของสถาน
ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ใน 14 ประเภท
ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการ
บริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนด
19. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 6 ชม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างใหม่ โดยให้อบรมก่อนเริ่มงาน
และลูกจ้างทั่วไป
20. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้าง ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างที่เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยน
สถานที่ทำงาน หรือโรงงานมีการ
เปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ที่
แตกต่างไปจากเดิม โดยให้อบรม
ก่อนเริ่มงานนั้นๆ
21. การป้องกันและระงับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยพ.ศ. 2555 สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและ
ระงับอัคคีภัยภายในสถานประกอบกิจการ
22. วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสารเคมีอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 สำหรับลูกจ้างที่ทำการขนถ่าย เคลื่อนย้าย
และขนส่งสารเคมีอันตราย อย่างน้อย
ปีละ 1 ครั้ง
23. การควบคุมและระงับเหตุอันตรายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 สำหรับลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับ
เหตุอันตราย โดยอบรมและทบทวนอย่างน้อย
ปีละ 1 ครั้ง

เรื่องที่น่าสนใจ

หลักสูตร จป.

หลักสูตรทั่วไป

เซฟตี้ .COM ผู้ให้บริการครบวงจรด้านความปลอดภัยในการทำงาน อบรมความปลอดภัย และ ตรวจรับรองวิศวกรรมในโรงงานอุตสาหกรรม

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by เซฟตี้.com