by admin
อบรม จป เทคนิค

อบรม จป เทคนิค ตามกฎหมาย คืออะไร มีอะไรบ้างตามกฎหมายที่ต้องรู้

จป เทคนิค จะต้องผ่านการฝึกอบรมตามกฎหมายและขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมดำเนินการทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

จป.เทคนิคคือใคร ทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง ข้อมูลอัพเดท 2023

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหนึ่งในเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะเช่นเดียวกับ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพและระดับเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะ ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคว่าทำอย่างไรถึงจะเป็นได้ และต้องมีคุณสมบัติหรือหน้าที่อะไรบ้าง

จป.เทคนิคคือใคร

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (Safety Officer Technical Level) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่

รับผิดชอบด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะ ซึ่งหากสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ของกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคอย่างน้อย 1 คน เพื่อทำหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานไม่ว่าจะระดับใดก็ตามสามารถขึ้นทะเบียนประจำสถานประกอบกิจการได้เพียงหนึ่งสถานประกอบกิจการเท่านั้น 

จป.เทคนิคต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถเป็น จป.เทคนิคได้ ถูกกำหนดไว้ในกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน

การทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 โดยกำหนดไว้ว่า จป.เทคนิคต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร

และการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

ในส่วนของข้อนี้ หากใครที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคอยู่ก่อนที่กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 จะบังคับใช้ ก็สามารถเป็นต่อได้เลยโดยอัตโนมัติ แต่หากไม่มั่นใจว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้หรือไม่ก็สามารถสอบถามจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ได้ 

  • มีคุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี (ข้อ 18 หรือข้อ 21 สามารถดูได้ในกฎกระทรวง การจัดให้มี

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565)

ในส่วนของจป.เทคนิคจะไม่ได้กำหนดระดับการศึกษาเหมือนกับจป.เทคนิคขั้นสูงซึ่งหากผู้ที่ต้องการทำหน้าที่เป็นจป.เทคนิคและมีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้นสถานประกอบกิจการก็สามารถทำหนังสือแต่งตั้งให้เป็นจป.เทคนิคประจำสถานประกอบกิจการและแจ้งชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้ง

จป.เทคนิคมีหน้าที่อะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยทั้งหมดภายใน

สถานประกอบกิจการ เพื่อให้สถานประกอบกิจการเกิดความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคไว้ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  3. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  4. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  5. รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
  6. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามที่กฎหมายกำหนด แต่

ในทางปฏิบัติแล้ว หากสถานประกอบกิจการมี จป.เทคนิคเพียงคนเดียวที่เป็นตัวกลางในการดำเนินการด้านความปลอดภัยแล้ว จป.เทคนิค ยังต้องทำหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในการทำงานด้วย เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม 5ส เนื่องจาก 5ส เป็นพื้นฐานของความปลอดภัย งานตรวจสอบการทำงานหรือการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน และอาจมีงานอื่นที่นายจ้างมอบหมายให้ทำเพิ่มเติม ตามหน้าที่ข้อที่ 6 อีกด้วย 

นอกจากการทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วกฎกระทรวงยังกำหนดให้นายจ้างต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค 2 ครั้ง/ปีโดยครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายนและครั้งที่ 2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีโดยใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องแบบรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ซึ่งแบบรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือว่าแบบจป.ท

สรุป

ความปลอดภัยในการทำงานจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนภายในสถานประกอบกิจการจะไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หากมีใครคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ปฏิบัติตามตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแต่ละระดับจะมีหน้าที่ตามกฎหมายที่แตกต่างกันออกไปแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของทุกคนที่อยู่ภายในสถานประกอบกิจการ

หลักสูตรทั่วไป

หลักสูตรที่สูง

เพิ่มเพื่อน

เซฟตี้ .COM ผู้ให้บริการครบวงจรด้านความปลอดภัยในการทำงาน อบรมความปลอดภัย และ ตรวจรับรองวิศวกรรมในโรงงานอุตสาหกรรม

Copyright @2022  All Right Reserved – Designed and Developed by เซฟตี้.com