หลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554
ซึ่งมีการกำหนดหัวข้อวิชาไว้ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมที่กล่าวมาข้างต้น จะมีการกำหนดหัวข้อวิชาที่ต้องอบรมเอาไว้อย่างละเอียด ตามแต่ละหลักสูตร และการฝึกปฏิบัติก็อาจแตกต่างกันไปตามหลักสูตรที่เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้
หัวข้อหลักสูตรอบรมปั้นจั่น
1. หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น มีดังต่อไปนี้
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
- หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
- หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
การฝึกอบรมตามหลักสูตรข้างต้น กำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดหัวข้อวิชาที่ต้องเรียนเอาไว้ด้วย
2. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น ประกอบด้วย
ภาคทฤษฎี (9 ชั่วโมง)
-
- ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อกำหนด
- ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
- ระบบสัญญาณเตือนและ Limit switch
- การใช้สัญญาณมือ
- วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
- การประเมินน้ําหนักสิ่งของ
- การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบํารุงรักษาตามระยะเวลา
ภาคปฏิบัติเสมือนจริง (3 ชั่วโมง)
การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กําหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย
3. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย
ภาคทฤษฎี (15 ชั่วโมง)
-
- ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อกำหนด
- ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
- ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น
- ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
- ระบบสัญญาณเตือนและ Limit switch
- การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร
- การอ่านค่าตารางพิกัดยก
- การเลือกใช้และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
- วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
- การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
- การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
ภาคปฏิบัติเสมือนจริง (3 ชั่วโมง)
การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย
4. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ต้องประกอบด้วย
ภาคทฤษฎี (9 ชั่วโมง)
-
- ความรู้พื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อกำหนด
- การใช้สัญญาณมือ
- การเลือกใช้และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
- วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
- การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
ภาคปฏิบัติเสมือนจริง (3 ชั่วโมง)
การทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูกมัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย
5. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย
- ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง
- การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก
6. หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อบกว่า 3 ชั่วโมง
- กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเอกสารที่กำหนดมาตรฐานและข้อกำหนดในการจัดการความปลอดภัย และสุขภาพในสถานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการทำงานของพนักงานทั้งหมดในโรงงานหรือสถานที่ทำงานที่ใช้เครื่องจักรเหล่านี้
- กิจกรรมกลุ่มกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น และความสูญเสียรวมทั้งการนำผลการสอบสวนอุบัติเหตุมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนป้องกัน มุ่งเน้นการศึกษากรณีเฉพาะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสียอย่างละเอียด และนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เพื่อทำการวางแผนป้องกันอุบัติเหตุในอนาคต
- ความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่นในกรณีที่นำปั้นจั่นชนิด หรือประเภทที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีความแตกต่างในระบบการทำงาน การดูแลรักษา และความปลอดภัยของเครื่องจักร ปั้นจั่นชนิดนั้นๆ การให้ความรู้และการฝึกอบรมให้แก่พนักงานที่จะใช้งานปั้นจั่นใหม่นั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
สรุป
หลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับปั้นจั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมมีหลายหลักสูตร ตามตำแหน่ง หน้าที่การทำงาน ซึ่งเมื่อมีการอบรมแล้ว นายจ้างต้องจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการด้วย เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้