by admin

อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ลด 50% พร้อมอุปกรณ์สอนครบชุดหลักสูตรอินเฮ้าส์

อบรมที่อับอากาศ ใครบ้างต้องอบรม

ที่อับอากาศ (Confined Space) คือที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และมีสภาพอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ถัง ไซโล เป็นต้น ซึ่งที่อับอากาศต้องมีข้อความติดไว้ว่า ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า ให้เห็นได้อย่างชัดเจน และที่อับอากาศไม่ใช่ว่าใครก็สามารถทำงานได้ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและมีสุขภาพแข็งแรง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากงานอับอากาศเป็นงานที่มีความเฉพาะเจาะจง ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้

อบรมการทำงานในที่อับอากาศ

ใครบ้างต้องอบรมที่อับอากาศ

หลักสูตรฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน 

ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ หรือผู้เกี่ยวข้องทุกคนจำเป็นต้องฝึกอบรมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย เพราะงานอับอากาศเป็นงานที่มีความเป็นอันตรายมาก กฎหมายจึงบังคับให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรม ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ แต่หากผู้อื่น เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย มีความสนใจ ต้องการรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ในงานอับอากาศก็สามารถอบรมได้ เพราะเป็นงานด้านความปลอดภัย ซึ่งถือว่ายังคงอยู่ในสายงานที่ จป.ต้องรู้

ภาพตัวอย่างการอบรมที่อับอากาศ

หลักสูตรอบรมอับอากาศมีอะไรบ้าง

ข้อ 20 ของกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย 

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่กำหนด

และข้อ 2 ของประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ กำหนดไว้ว่า

ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้

และยังกำหนดไว้อีกว่ากรณีลูกจ้างเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิตร่างกายจิตใจหรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้กับลูกจ้างผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตผู้ควบคุมงานผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศก่อนเริ่มการทำงาน

ฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้กับลูกจ้างทำงานอับอากาศ

หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กำหนดไว้ตามประกาศดังกล่าว มีดังนี้

  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง โดยจัดอบรม 1 วัน
  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า12 ชั่วโมง โดยจัดอบรม 2 วันต่อเนื่อง
  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม 3 วันต่อเนื่อง
  • หลักสูตรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม 2 วันต่อเนื่อง
  • หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยจัดฝึกอบรม 4 วันต่อเนื่อง
  • หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง

หลักสูตรฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงาน ในที่อับอากาศ

ซึ่งหลักสูตรฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ จะต้องอบรมทบทวนทุก 5  ปีนับแต่วันสุดท้ายของการฝึกอบรม โดยต้องให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมให้เสร็จภายใน 30 วันก่อนครบกำหนด 5 ปี 

และผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้นต้องผ่านการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอัคคีภัย

ผู้เข้าอบรมอับอากาศต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หากเป็นภาคทฤษฎีคงไม่มีข้อกำหนดหรือข้อห้าม

แต่การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ได้กำหนดไว้ดังนี้

  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจหรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม

พื้นที่อับอากาศ

เมื่อดูจากหลักสูตรที่กำหนดไว้ทั้ง 6 หลักสูตร มีภาคปฏิบัติทุกหลักสูตร ซึ่งถ้าหากใครไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดข้างต้น ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ 

ใครสามารถเป็นวิทยากรฝึกอบรมได้

วิทยากรที่สามารถฝึกอบรมความปลอดภัยเกี่ยวกับงานอับอากาศ กำหนดไว้ในหมวด 3 ของกระกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งหากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดก็สามารถเป็นวิทยากรอบรมได้  แต่ในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดอบรมเองได้ ให้ส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมกับนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11 เป็นผู้ดำเนินการได้

สรุป

การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ เมื่อฝึกอบรมเสร็จแล้ว นายจ้างต้องจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการ สำหรับให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ และนายจ้างต้องทำรายงานผลการฝึกอบรมแจ้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรมด้วย

หลักสูตร จป.

หลักสูตรทั่วไป

เซฟตี้ .COM ผู้ให้บริการครบวงจรด้านความปลอดภัยในการทำงาน อบรมความปลอดภัย และ ตรวจรับรองวิศวกรรมในโรงงานอุตสาหกรรม

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2022  All Right Reserved – Designed and Developed by เซฟตี้.com